วันจันทร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

เจ้าชายฟิลิป กษัตริย์องค์ใหม่เบลเยียมขึ้นครองราชย์แล้ว








เจ้าชายฟิลิปเสวยราชสมบัติเป็นกษัตริย์พระองค์ใหม่ของเบลเยียมอย่างเป็นทางการในวันชาติ 21 กรกฎาคม ต่อจากสมเด็จพรวระราชบิดา ซึ่งทรงตัดสินพระทัยสละราชสมบัติ 

         เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2556 รายงานข่าวแจ้งว่า สมเด็จพระราชาธิบดีอัลแบร์ที่ 2 ทรงลงพระปรมาภิไธยในกฎหมายสละราชสมบัติอย่างเป็นทางการ โดยทรงอ้างเหตุผลว่า เจริญพระชนมพรรษาถึง 79 พรรษาแล้ว และพระวรกายอ่อนล้า  และสภาพพระวรกายที่ไม่แข็งแรงดังเดิมแล้ว พร้อมกันนี้ กษัตริย์อัลแบร์ทรงตรัสขอบพระทัยสมเด็จพระราชินีเปาลาที่ทรงสนับสนุนพระองค์มาโดยตลอด พร้อมกับทรงชื่นชมพระราชโอรสพระองค์โตว่าเปี่ยมด้วยคุณสมบัติที่จะรับใช้ประเทศชาติ

         ในงานราชพิธี เจ้าชายฟิลิปพระชนมายุ 53 ในปัจจุบัน ทรงเครื่องแบบทหารเต็มยศ ขณะตรัสถ้อยคำปฏิญาณในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกที่เรียบง่ายของพระองค์ด้วยภาษาราชการ 3 ภาษาของเบลเยียม คือ ภาษาฝรั่งเศส, ภาษาเฟลมิช และภาษาเยอรมัน ดังนี้ "ข้าพเจ้าสาบานจะปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญและกฎหมายของชาวเบลเยียม"  

         หลังจากนั้น กองทหารเกียรติยศรักษาพระองค์ได้ยิงสลุต 101 นัด สมเด็จพระราชาธิบดีฟิลิป กษัตริย์พระองค์ใหม่ เสด็จออก ณ สีหบัญชร พระบรมมหาราชวัง พร้อมสมเด็จพระราชีนีมาทิลด์ สมเด็จพระราชินี รวมถึงพระราชโอรส 2 พระองค์และพระราชธิดา 2 พระองค์ ท่ามกลางพสกนิกรจำนวนมหาศาล ที่มารอเฝ้าชื่นชมพระบารมี  โดยหลายคนโบกธงชาติและแต่งกายด้วยสีแดง เหลืองและดำ ตามสีธงชาติ
         พระราชพิธีบรมราชาภิเษกถูกเลือกให้ตรงกับงานฉลองวันชาติและฉลอง 20 ปีครองราชย์ของกษัตริย์อัลแบร์ เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายในภาวะที่ยุโรปยังไม่พ้นจากวิกฤติการเงินเต็มตัว คาดว่างานฉลองทั้งหมดพร้อมกันในวันที่ 21 กรกฎาคม 2556 ใช้งบประมาณราว 600,000 ยูโร (24.45 ล้านบาท)

http://www.dailynews.co.th/world/220716

'แคทเธอรีน'ประสูติกาลพระโอรส!













'แคทเธอรีน'ประสูติกาลพระโอรส!

'ดัชเชสแห่งเคมบริดจ์' พระชายาในเจ้าชายวิลเลียม มีพระประสูติกาลพระโอรส


                           23 ก.ค. 56  สำนักข่าวต่างประเทศรายงาน อ้างแถลงการณ์ของสำนักพระราชวังเคนซิงตันแห่งอังกฤษ ว่า 'แคทเธอรีน' ดัชเชสแห่งเคมบริดจ์ พระชายาในเจ้าชายวิลเลียม รัชทายาทลำดับที่ 2 แห่งราชวงศ์อังกฤษ มีพระประสูติกาลพระโอรส เมื่อเวลา 16.24 น. (วันจันทร์ ตามเวลาอังกฤษ) หรือ 22.24 น. วันเดียวกันตามเวลาประเทศไทย โดยเจ้าชายน้อย จะเป็นรัชทายาทสืบทอดบัลลังก์ลำดับที่ 3 แห่งราชวงศ์อังกฤษ

 พระโอรส, ราชวงศ์อังกฤษ, เจ้าชายวิลเลียม, เจ้าหญิงเคท

 พระโอรส, ราชวงศ์อังกฤษ, เจ้าชายวิลเลียม, เจ้าหญิงเคท

 พระโอรส, ราชวงศ์อังกฤษ, เจ้าชายวิลเลียม, เจ้าหญิงเคท

 พระโอรส, ราชวงศ์อังกฤษ, เจ้าชายวิลเลียม, เจ้าหญิงเคท

 พระโอรส, ราชวงศ์อังกฤษ, เจ้าชายวิลเลียม, เจ้าหญิงเคท

article-2374931-1AF5AD75000005DC-107_470x663

article-2375299-1AF59756000005DC-231_470x622

 พระโอรส, ราชวงศ์อังกฤษ, เจ้าชายวิลเลียม, เจ้าหญิงเคท

 พระโอรส, ราชวงศ์อังกฤษ, เจ้าชายวิลเลียม, เจ้าหญิงเคท

 พระโอรส, ราชวงศ์อังกฤษ, เจ้าชายวิลเลียม, เจ้าหญิงเคท

 พระโอรส, ราชวงศ์อังกฤษ, เจ้าชายวิลเลียม, เจ้าหญิงเคท

วันพฤหัสบดีที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

เครื่องบิน


  1. Boeing 737-800
  2. แอร์บัส A319-115X CJ 
  3. ยูโรคอปเตอร์ ซูเปอร์พูม่า AS-332L2 Mk-II
  4. โบอิง 737-2Z6
  5. โบอิง737-4Z6
  6. แอร์บัส A310-324 44-444 60202
  7. Bell 412/HP
  8. Bell 412/EP
  9. ยูโรคอปเตอร์ EC 155 B1
  10. คิงแอร์ Kingair 200 
  11. ซิคอร์สกี S-92 
  12. เครื่อง ATR 72-500 

11-111

11-111

44-444/22-222

22-222
55-555
55-555












 



วันจันทร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหิตลาธิเบศรรามาธิบดีจักรีนฤบดินทรสยามินทรทราธิราชบรมนาถบพิตรรัชกาลที่ 9


        พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหิตลาธิเบศรรามาธิบดีจักรีนฤบดินทรสยามินทรทราธิราชบรมนาถบพิตรเสด็จพระราชสมภพในราชสกุลมหิดลอันเป็นสายหนึ่งในราชวงศ์จักรี ณ โรงพยาบาลเมาต์ออเบิร์น เมืองเคมบริดจ์ รัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา เมื่อวันจันทร์ เดือนอ้าย ขึ้น 12 ค่ำ ปีเถาะ นพศก จุลศักราช 1289 ตรงกับวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2470 ซึ่งเหตุที่พระราชสมภพในสหรัฐอเมริกา เนื่องจากพระบรมราชชนกและพระบรมราชชนนีกำลังทรงศึกษาวิชาการอยู่ที่นั่น
        เมื่อ พ.ศ. 2471 ได้เสด็จกลับสู่ประเทศไทยพร้อมพระบรมราชชนก ซึ่งทรงสำเร็จการศึกษาปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิตเกียรตินิยมจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา พร้อมด้วยสมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ และสมเด็จพระเชษฐาธิราช โดยประทับ ณ วังสระปทุม ต่อมาวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2472 สมเด็จพระบรมราชชนกสวรรคต ขณะที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระชนมายุไม่ถึงสองพรรษา
        พ.ศ. 2475 เมื่อเจริญพระชนมายุได้สี่พรรษา เสด็จเข้าศึกษาที่โรงเรียนมาแตร์เดอี จนถึงเดือนพฤษภาคม 2476 จึงเสด็จพระราชดำเนินไปประทับ ณ เมืองโลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ พร้อมด้วยพระบรมราชชนนีพระเชษฐภคินี และสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช เพื่อการศึกษาและพระพลานามัยของสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช จากนั้นทรงเข้าศึกษาต่อชั้นประถมศึกษา ณ โรงเรียนเมียร์มองต์ เมืองโลซาน ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2477 ทรงศึกษาวิชาภาษาฝรั่งเศส ภาษาเยอรมัน และภาษาอังกฤษ แล้วทรงเข้าชั้นมัธยมศึกษา ณ "โรงเรียนแห่งใหม่ของซืออีสโรมองด์
        เมื่อพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล สมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช เสด็จขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 8 แห่งราชวงศ์จักรี พระองค์ก็ได้รับการสถาปนาฐานันดรศักดิ์เป็น "สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลเดช" เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2478
        ปี พ.ศ. 2488 ทรงรับประกาศนียบัตรทางอักษรศาสตร์ จากโรงเรียนยิมนาส คลาซีค กังโตนาล แล้วทรงเข้าศึกษาต่อ ณ มหาวิทยาลัยโลซาน แผนกวิทยาศาสตร์ 
        หลังจากที่จบการศึกษาจากสวิตเซอร์แลนด์ พระองค์เสด็จไปเยือนกรุงปารีส ทรงพบกับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ซึ่งเป็นลูกสาวของเอกอัครราชทูตไทยประจำฝรั่งเศส เป็นครั้งแรก[27] ในขณะนี้ ทั้งสองพระองค์มีพระชนมายุ 21 พรรษาและ 15 พรรษาตามพระลำดับ
เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2491 ในระหว่างเสด็จประทับยังต่างประเทศ ขณะที่พระองค์ทรงขับรถยนต์พระที่นั่งเฟียส ทอปอลิโน จากเจนีวาไปยังโลซาน ทรงประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ กล่าวคือ รถยนต์พระที่นั่งชนกับรถบรรทุกอย่างแรง ทำให้เศษกระจกกระเด็นเข้าพระเนตรขวา พระอาการสาหัส หลังการถวายการรักษา พระองค์มีพระอาการแทรกซ้อนบริเวณพระเนตรขวา แพทย์จึงถวายการรักษาอย่างต่อเนื่องหลายครั้ง หากแต่พระอาการยังคงไม่ดีขึ้น กระทั่งวินิจฉัยแล้วว่าพระองค์ไม่สามารถทอดพระเนตรผ่านทางพระเนตรขวาของพระองค์เองได้ต่อไปแล้ว จึงได้ถวายการแนะนำให้พระองค์ทรงพระเนตรปลอมในที่สุด
ทั้งนี้ หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ ได้มีโอกาสเข้าเฝ้าเยี่ยมพระอาการเป็นประจำจนกระทั่งหายจากอาการประชวร อันเป็นเหตุที่ทำให้ทั้งสองพระองค์มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
วันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลเสด็จสวรรคตอย่างกะทันหัน ณ พระที่นั่งบรมพิมาน ภายในพระบรมมหาราชวัง ในวันเดียวกันนั้นเอง รัฐสภาได้ลงมติเป็นเอกฉันท์ในการที่จะอัญเชิญพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งเป็นพระอนุชาร่วมพระราชชนนีในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ขึ้นทรงราชย์สืบราชสันตติวงศ์ต่อไป
ทรงหมั้นกับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2492
 พระราชพิธีราชาภิเษกสมรณส วันที่ 28 เมษายน 2493
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถมีพระราชโอรสและพระราชธิดาด้วยกันสี่พระองค์ตามลำดับดังต่อไปนี้

  • ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ประสูติ: 5 เมษายน พ.ศ. 2494
    • ทรงสมรสกับนายปีเตอร์ เจนเซ่น ชาวอเมริกัน โดยมีพระโอรสหนึ่งองค์และพระธิดาสององค์


  • สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร ประสูติ: 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2495


    • ทรงอภิเษกสมรสกับ
      • พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ 
      • นางสุจาริณี วิวัชรวงศ์
  
      • พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าศรีรัศมิ์
  
  • สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารีประสูติ: 2 เมษายนพ.ศ. 2498
  • สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ประสูติ: 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2500 
      • ทรงอภิเษกสมรสกับนาวาอากาศเอก วีระยุทธ ดิษยะศริน โดยมีพระธิดาสองพระองค์